เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

เข้าใจและสามารถออกแบบการเรียนรู้ของตนเอง ฝึกฝนทักษะชีวิตที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Week 1



เป้าหมายรายสัปดาห์ :  นักเรียนสามารถบอกความต้องการและความจำเป็นของตนเองต่อสิ่งที่อยากเรียนรู้ รวมทั้งมีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการทำงานอย่างเป็นระบบ



week
Input
Process
Output
Outcome











1
โจทย์
- สร้างฉันทะ สร้างแรงบันดาลใจ 
- สิ่งที่อยากเรียนรู้
- ชื่อหน่วยการเรียนรู้

คำถาม
นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรใน Quarter นี้ เพราะเหตุใดจึงอยากเรียนรู้

เครื่องมือคิด
- Card & Chart เรื่องที่อยากเรียนรู้  ความรู้สึกความคิดขณะสำรวจพื้นที่เรียนรู้
- Show & Share  วิธีการปลูกพืชผักในพื้นที่ที่จำกัด
- Round Robin  สิ่งที่ได้ดูจากคลิปและการสำรวจแหล่งเรียนรู้

วันจันทร์
ขั้นชง
- ครูนักเรียนร่วมสำรวจพื้นที่ส่วนฟาร์มของโรงเรียน (บ่อน้ำ เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืช การจัดการน้ำ เศษใบไม้ เศษอาหาร ) ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
      -  จากการเดินสำรวจ นักเรียนเกิดความคิดหรือความรู้สึกอะไรบ้าง 
      -  นักเรียนเห็นอะไร  สิ่งที่เห็นเกี่ยวข้องกับนักเรียนหรือผู้อื่นอย่างไร
      - จะเป็นอย่างไรหากไม่มีการจัดการสิ่งเหล่านี้  เพราะเหตุใด
      -  ถ้าเป็นนักเรียนจะทำอย่างไร
      - นักเรียนตั้งคำถามจากสิ่งที่ได้สำรวจและเห็น
ขั้นเชื่อม
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เห็น  ได้เรียนรู้จากการสำรวจพื้นที่ต่างๆในโรงเรียน
** การบ้าน : นักเรียนเตรียมเมล็ดพันธุ์หรือผักสำหรับเตรียมปลูก
วันอังคาร
ขั้นชง
- นักเรียนดูคลิปการทำเกษตรในเมือง การจัดการพื้นที่และทรัพยากรอย่างคุ้มค่าในพื้นที่จำกัด  แล้วตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไร  สิ่งที่เห็นเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร”
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด  “ถ้าให้ปลูกผักหนึ่งชนิด(จากเมล็ดพันธุ์หรือผักที่นักเรียนเตรียมมา) นักเรียนจะทำอย่างไร เพราะเหตุใดจึงทำเช่นนั้น

ภาระงาน
- สำรวจพื้นที่รอบๆโรงเรียน
- แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิปวีดีโอ
- เลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้
- ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้

ชิ้นงาน
- หน่วยการเรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
นักเรียนสามารถบอกความต้องการและความจำเป็นของตนเองต่อสิ่งที่อยากเรียนรู้ รวมทั้งมีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการทำงานอย่างเป็นระบบ
ทักษะ
ทักษะชีวิต
เห็นความสำคัญและความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงระหว่างสิ่งรอบตัวกับตัวเรา
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงาน
สามารถสร้างทางเลือกในการวางแผนเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ชื่อหน่วยการเรียนรู้อย่างเหมาะสม  สร้างสรรค์
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น รับฟังความคิดเห็นในการเสนอสิ่งที่อยากเรียนรู้  ชื่อหน่วยการเรียนรู้ที่แตกต่าง หลากหลาย
week
Input
Process
Output
Outcome






1
เครื่องมือคิด
- Think  Pair  Share ชื่อหน่วยการเรียนรู้

สื่อ/อุปกรณ์
- บรรยากาศในห้องเรียน
- แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน(พื้นที่ฟาร์ม)
- คลิปการปลูกพืชในเมือง

ขั้นเชื่อม
-นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้จากการดูคลิปวีดีโอ (เห็นอะไร รู้สึกอย่างไร  สิ่งนั้นเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร) รวมทั้งแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการปลูกผักของตนเอง “ทำอย่างไร  ทำไมจึงทำเช่นนั้น”
ขั้นใช้
นักเรียนปลูกผัก (เลือกวิธีการตามความสนใจของตนเอง)
วันพุธ
ขั้นชง
ครูให้โจทย์  “นักเรียนจะมีวิธีการจัดพื้นที่ที่มี บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ไก่ไข่ หรือแปลงผักให้อยู่ด้วยกันในพื้นที่จำกัดอย่างไร (ลงสำรวจพื้นที่จริง) 
ขั้นเชื่อม
ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ไปสำรวจเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับเพื่อนในการจัดการพื้นที่ที่จำกัด เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้
วันศุกร์
ขั้นชง
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด  นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรใน Quarter นี้ เพราะเหตุใดจึงอยากเรียนรู้
ขั้นเชื่อม
นักเรียนแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการเลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้ รวมทั้งการได้มาของเรื่องที่อยากเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเองและเคารพสิทธิ์ของผู้อื่น
ขั้นใช้
นักเรียนเลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้ผ่านเครื่องมือ Card & Chart
พร้อมทั้งตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ และสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ทักษะการจัดการข้อมูล
มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลายจากการสำรวจ และการค้นคว้าเพื่อวางแผนการเรียนรู้
นำข้อมูลมาใช้ในการออกแบบและแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้(ปฏิทินการเรียนรู้)
ทักษะการสื่อสาร
สื่อสารผ่านการนำเสนอ การอธิบาย การแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นสิ่งที่ตนเองหรือกลุ่มให้เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลน่าสนใจ และเหมาะสม
คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่มและงานเดี่ยว
รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- รู้ตัว พอประมาณ  มีเหตุมีผล  มีภูมิคุ้มกัน
































1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้กับโจทย์ที่ว่าอยากเรียนรู้อะไรใน Quarter นี้เพราะอะไรจึงอยากเรียนรู้ เป็นคำถามที่ช่วยจุดประกายการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี บวกกับการสำรวจพื้นที่ 100 ตารางวา ดูเป็ด ดูไก่ ดูห่าน ดูไปคิดไปฝึกการรู้ตัว เห็นอะไร? มีความคิดหรือความรู้สึกอย่างไร? เสียงสะท้อนจากคำถาม รู้สึกสนุกมากเลยคะ จนหนูลืมคิด ส่วนบรรยากาศการตั้งชื่อหน่วยก็แชร์กันสนุกสนาน ในตอนแรก คิดชื่อหน่วยกันคนละชื่อพร้อมนำเสนอขาย จากนั้นก็รวมกลุ่มเลือกชื่อที่ชอบตรงกันจากสี่กลุ่มเหลือ สองกลุ่มจนกลายเป็นหนึ่งเดียว และได้ชื่อหน่วยว่า ปลูกงาน สร้างชีวิต หลากหลายเหตุผล ขยายความชื่อหน่วย ปลูกงานคือการริเริ่ม สร้างงานใหม่ และสร้างชีวิต คือ การที่เราได้ฝึกตนเองจากการทำงาน พึ่งพาตนเอง สร้างการเรียนรู้ และอีกหลายๆเหตุผลที่ช่วยต่อเติมกัน สุดท้ายงานออกแบบพื้นที่ในการทำเกษตร ใช้พื้นที่ให้คุ้มค่าจะเลี้ยงปลาเลี้ยงไก่ ทำทุกอย่างด้วยการรู้ตัว เชื่อมโยงกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรู้จักประมาณตน แรงมีประมาณไหนทำได้แค่ไหน ในขณะออกแบบจัดการพื้นที่ แต่หมดเวลาก่อน พี่อลิซท์ได้กล่าวว่า เอ้าหมดเวลาแล้วเหรอ ยังไม่เสร็จเลย ยังไม่ทำที่พักเหนื่อยเลยเผื่อเหนื่อย นี่ก็คงเป็นตัวอย่างหนึ่งสำหรับการรู้จักประมาณตน เหนื่อยก็พักเมื่อหายเหนื่อยก็ทำต่อส่วนสำคัญของการออกแบบพื้นที่แปลงในการทำเกษตร ภายในแปลงนา ขนาด 100 ตารางวา “ครูครับตารางวานี่เหมือนตารางกิโลเมตรไหมครับ” “ครูคะ ตารางวานี่เป็นกี่เมตรคะ” “ครูคะ บ่อปลาลึก 1 เมตรพอไหมคะ” และอีกหลายคำถามเพื่อให้การออกแบบพื้นที่ 100 ตารางวา มาอยู่ในหน้ากระดาษ A4 แผ่นเดียว ทำทุกวิถีทาง ช่วยกันเอาไม้เมตรในห้องมาต่อกันเพื่อจำลองขนาดเล้าไก่ บ่อปลา แปลงผัก คิดแก้ปัญหากันอย่างสนุกสนานครึกครื้น จนคิดที่อยากจะลงมือขุดบ่อปลากันตั้งแต่ ณ เดี๋ยวนั้น จะได้รู้ไปเลยว่าจะลึกขนาดไหน

    ตอบลบ