เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

เข้าใจและสามารถออกแบบการเรียนรู้ของตนเอง ฝึกฝนทักษะชีวิตที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Week 6



เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับการเจริญเติบโต  สารอาหาร และแร่ธาตุในดินที่พืชต้องการแล้วสามารถผลิตปุ๋ย หรือดินสำเร็จรูปจากวัตถุดิบที่มีในพื้นถิ่นได้อย่างเหมาะสม



week
Input
Process
Output
Outcome











6
โจทย์
สารอาหาร

ปุ๋ยชีวภาพ จากเศษอาหาร ใบไม้
- น้ำหมักชีวภาพ
- ปุ๋ยหมักชีวภาพ
- ดินปลูก(สำเร็จรูป)
คำถาม
- นักเรียนจะสามารถผลิตปุ๋ยหรือสารอาหารของพืชโดยใช้ส่วนผสมของใบไม้และเศษอาหารอย่างไร
- พืชแต่ละชนิดต้องการดินและสารอาหารอะไรบ้าง นักเรียนจะปรุงดินที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืชแต่ละชนิดอย่างไร

วันจันทร์
ขั้นชง
-ครูตั้งคำถาม ““ปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยชีวภาพอย่างไหนดีกว่ากัน”นักเรียนทำชักเย่อความคิด
- นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่มกลุ่มละ5 - 6 คน แต่ละกลุ่มศึกษาค้นคว้าการทำดินสำเร็จรูปโดยใช้วัสดุธรรมชาติที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืชแต่ละชนิด เช่น พืชกินใบ พืชกินผล พืชกินหัว พืชกินดอกเป็นต้น
ขั้นเชื่อม
- นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการทำดินสำเร็จรูปและธาตุอาหารที่พืชต้องการ
- ดูคลิปสาธิตการทำดินสำเร็จรูปแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับสูตรการทำดินที่แต่ละกลุ่มวางแผนไว้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปขั้นตอนการปรุงดินของกลุ่มตนเองแลกเปลี่ยนกับเพื่อนกลุ่มอื่นๆและวางแผนการทำดินสำเร็จรูปรวมทั้งเตรียมอุปกรณ์ในการทำงานของกลุ่ม
วันอังคาร
ขั้นชง
ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “น้ำหมักหรือปุ๋ยหมักชีวภาพที่นักเรียนทำไว้จะนำไปพัฒนาหรือใช้ประโยชน์อย่างไร”
ขั้นเชื่อม
-นักเรียนแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการทำ ปุ๋ยหมักชีวภาพ ทั้งสูตรน้ำหมัก และปุ๋ยแห้ง ที่นักเรียนเคยทำไว้แล้วเมื่อ สัปดาห์ที่ผ่านมา (ใครนำไปใช้แล้วบ้าง  สังเกตผลเป็นอย่างไร  จะทำอย่างไรต่อ)

ภาระงาน
ศึกษาค้นคว้าการทำดินสำเร็จรูป ปุ๋ยหมัก  น้ำหมักชีวภาพ
-ทำดินสำเร็จรูป  ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ
-ปลูกผักกระถาง เพื่อสังเกตคุณภาพของดินสำเร็จรูป (ใช้พืชหลากหลายชนิด)

***
-ดูแลปลา และแปลงผัก


ชิ้นงาน
- ดินสำเร็จรูป
- ปุ๋ยชีวภาพ
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับการเจริญเติบโต  สารอาหาร และแร่ธาตุในดินที่พืชต้องการแล้วสามารถผลิตปุ๋ย หรือดินสำเร็จรูปจากวัตถุดิบที่มีในพื้นถิ่นได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน
- สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
- กล้ารับผิด รับชอบต่อการเรียนรู้และงานที่ทำ
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างมีขั้นตอน
- ใช้ความคิดใหม่ๆ  วิธีการใหม่ๆในการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อ แก้ปัญหาใหม่ๆที่ไม่เคยประสบมาก่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

week
Input
Process
Output
Outcome










6
เครื่องมือคิด
- Round Robin สารอาหารที่พืชต้องการ
- Brainstorm การปรุงดินเพื่อการเพาะปลูกพืช
- Blackboard Share กระบวนการปรุงดินและเพิ่มธาตุอาหารในดิน
-ชักเย่อความคิด “ปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยชีวภาพอย่างไหนดีกว่ากัน”
-Show & Share สูตรและวิธีการทำปุ๋ยหมักและดินชีวภาพ
- Wall Thinking ชาร์ตความรู้ชนิดดิน

สื่อ/แหล่งเรียนรู้
- อินเทอร์เน็ต
- พื้นที่ในโรงเรียน /พื้นที่ในการทำกิจกรรม
- เศษใบไม้แห้ง เศษอาหารในโรงเรียน

-นักเรียนแลกเปลี่ยนการทำปุ๋ยหมักกับพี่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ค้นคว้าอิสระน้ำหมักชีวภาพ)
ขั้นใช้
นักเรียนแต่ละกลุ่มผสมดินสำเร็จรูปที่เหมาะกับพืชแต่ละชนิดเช่น พืชกินใบ พืชกินดอก พืชกินผล พืชกินหัว เป็นต้นเมื่อปรุงแล้วนำไปใส่กระถางแยกตามชนิดของพืชที่ต้องการปลูก สังเกตการเปลี่ยนแปลงและการเจริญเติบโต โดยการบันทึกผลลงในสมุดบันทึก
วันพุธ
ขั้นใช้ (ต่อจากวันอังคาร)
นักเรียนแต่ละกลุ่มผสมดินสำเร็จรูปที่เหมาะกับพืชแต่ละชนิดเช่น พืชกินใบ พืชกินดอก พืชกินผล พืชกินหัว เป็นต้นเมื่อปรุงแล้วนำไปใส่กระถางแยกตามชนิดของพืชที่ต้องการปลูก สังเกตการเปลี่ยนแปลงและระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงและการเจริญเติบโต โดยการบันทึกผลลงในสมุดบันทึก
วันศุกร์
ขั้นเชื่อม
นักเรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ได้เรียนรู้และลงมือทำ (ทำอะไร ทำอย่างไร เพราะเหตุใดจึงเลือกทำเช่นนั้น จะทำอย่างไรต่อไป)
ขั้นใช้
-นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ผ่านการทำการ์ตูนช่อง ในหัวข้อ“ดินอินทรีย์ ดินดีด้วยวัสดุธรรมชาติ”

- ประยุกต์ละนำไปใช้จากสิ่งที่เรียนรู้ และคิดริเริ่มวิธีการ/แนวทางใหม่ ๆ   ในการทำชิ้นงาน ภาระงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มอื่นได้
- เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการทำงาน การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
ทักษะ ICT
- เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
- วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการทำงานได้เหมาะสม
คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่มและงานเดี่ยว
รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ


 ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน 























1 ความคิดเห็น:

  1. "นักเรียนจะปรุงดินที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืชแต่ละชนิดอย่างไร" นี่คือโจทย์การเรียนรู้ในสัปดาห์นี้ที่นักเรียนจะได้ช่วยศึกษาค้นคว้าและลงมือทำดินสำหรับปลูกพืชซึ่งเป็นดินสำเร็จรูปที่สามารถใช้ได้ทันที "ครูแล้วเราจะเอาโพแทสเซียมมาจากไหนล่ะครู" "ครูแล้วแคลเซียมล่ะครูเราจะเอามาจากไหน" ฯลฯ คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่นักเรียนรู้ว่าเป็นสารอาหารที่พืชต้องการและใช้ในกระบวนการเจริญเติบโตและมีอยู่ในดินแต่นักเรียนยังไม่รู้ว่าวัตถุดิบใดที่ให้สารอาหารแต่ละชนิดซึ่งนักเรียนแต่ละกลุ่มก็ได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตและแลกเปลี่ยนกันและกัน ว่าพืชกินดอก กินใบ กินหัว กินผลนั้นต้องการสารอาหารอะไรพิเศษก็เพิ่มสารอาหารนั้นลงไปในดิน "ครูเราทำดินเหมือนกันหมดเลยนะครูแต่บางกลุ่มไม่ต้องใส่น้ำหมัก" "ครูกลุ่มหนูดินสามารถใช้ได้เลยค่ะ" "ครูครับกลุ่มผมต้องใช้น้ำพรมแล้วก็หมักทิ้งไว้ด้วยนะครู" "ครูเราใช้มันแกวปลูกในกระถางได้ไหมครู" ...คำถามเหล่านี้มีทั้งได้คำตอบระหว่างการทำกิจกรรมและเป็นคำถามย้อนกลับให้นักเรียนทดลองทำเพื่อหาคำตอบ ซึ่งในสัปดาห์นี้ระหว่างทำดินพี่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพี่ๆด้วยว่าการทำน้ำหมัก ผักอินทรีย์หรืออาหารเพื่อสุขภาพนั้นสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างไร ซึ่งหลังจากแลกเปลี่ยนแล้วนักเรียนสามารถวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆในห้องได้เช่น การที่เราทำผุกอินทรีย์ "ช่วยทำให้เราได้อาหารที่ปลอดภัย" "ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม" "คนที่กินอาหารที่เราปลูกก็ปลอดภัย" "เราไม่ต้องเป็นโรคเพราะไม่ฉีดยาฆ่าแมลง" "เราได้แบ่งปันอาหารที่ดี" "สัตว์ที่อยู่ใต้ดินไม่ตาย" "ไม่เสียเงินซื้ออาหารเอง" "รู้ว่าอาหารที่เราปลูกเองปลอดภัย (เห็นที่มา) เป็นต้น กิจกรรมที่นักเรียนได้ลงมือทำ ได้ทำงานร่วมกับเพื่อน ได้แลกเปลี่ยนและรับฟังกันและกันเหล่านี้ทำให้นักเรียนเกิดการพัฒนาทักษะมากขึ้น เช่น นักเรียนมีการจัดการและการวางแผนการทำงานและการเรียนรู้ของตนเองดีขึ้น กระตือรือร้นอยากเรียนรู้ รับผิดชอบต่องานที่รับมอบหมายซึ่งเป็นกิจกรรมระยะยาว มีความมุ่งมั่นและพยายาม และจัดการเวลาได้ เช่นดูแลปลา ดูแลผัก ทั้งสัปดาห์นี้นักเรียนอยากเพาะถั่วงอกให้สำเร็จจึงขอทำกิจกรรมซ้ำ "ครูครับ ครูขา เราจะเพาะถั่วงอกอีกได้ไหมคะหนูได้วิธีแล้ว คราวนี้หนูจะทำให้สำเร็จค่ะ"

    ตอบลบ