เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

เข้าใจและสามารถออกแบบการเรียนรู้ของตนเอง ฝึกฝนทักษะชีวิตที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Week 5



เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจเกี่ยวกับความต้องการ และปริมาณน้ำที่เหมาะสมในการปลูกพืช (ปลูกผัก) สามารถออกแบบและสร้างนวัตกรรมประหยัดน้ำ  รวมทั้งนวัตกรรมดูแลและปรับคุณภาพน้ำ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน



week
Input
Process
Output
Outcome















5
โจทย์
ใช้น้ำน้อย

คำถาม
นักเรียนจะมีวิธีการจัดการน้ำในการทำกิจกรรมเลี้ยงปลาปลา และปลูกผักอย่างไร

เครื่องมือคิด
- Round Robin การจัดการน้ำในการทำกิจกรรมปลูกผัก  เลี้ยงปลา
- Brainstorm การทำสิ่งประดิษฐ์ประหยัดน้ำและบำบัดน้ำ
- Blackboard Share วิธีการ  ขั้นตอน อุปกรณ์และเครื่องมือในการทำสิ่งประดิษฐ์ประหยัดน้ำ
- Wall Thinking  ชาร์ตความรู้การใช้น้ำและการดูแลแหล่งน้ำ


วันจันทร์
ขั้นชง
- ครูนักเรียนสำรวจแหล่งน้ำ และการใช้น้ำในโรงเรียน ระหว่างการสำรวจครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด   “นักเรียนเห็นอะไรจากการสำรวจ  คิดต่อสิ่งนั้นอย่างไร” “สิ่งที่ดูเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรากำลังเรียนรู้อย่างไร”  “นักเรียนจะแก้ปัญหาหรือนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการสำรวจมาปรับใช้กับตนเองอย่างไร” “จะเป็นอย่างไรถ้าปลาหรือผักยังไม่โตแต่น้ำในบ่อแห้ง  นักเรียนจะวางแผนและหาวิธีจัดการน้ำอย่างไร”
- นักเรียนศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับนวัตกรรมและการจัดการน้ำในการเลี้ยงปลาและปลูกผัก
ขั้นเชื่อม
- ครู นักเรียนแลกเปลี่ยนสิ่งที่สำรวจและสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อนำไปปรับใช้ในการออกแบบและสร้างนวัตกรรมเกี่ยวกับการจัดการน้ำของตนเอง
***นักเรียนเตรียมอุปกรณ์และวางแผนการทำงาน (จัดการน้ำ)
อังคาร
ขั้นใช้
นักเรียนออกแบบและสร้างนวัตกรรมประหยัดน้ำ โดยนักเรียนสามารถเลือกการทำงานเป็นงานกลุ่มและงานเดี่ยวได้ตามความสนใจและระหว่างการทำกิจกรรมนักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้า เกี่ยวกับการจัดการน้ำนวัตกรรมประหยัดน้ำ การดูแลแหล่งน้ำในการเลี้ยงปลา และปลูกผักเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม
ภาระงาน
- สำรวจแหล่งน้ำ
- ศึกษาค้นคว้าการสร้างนวัตกรรมประหยัดน้ำ
- ออกแบบและสร้างนวัตกรรมประหยัดน้ำ
- ทดลองใช้ สังเกตผลการใช้  พัฒนาและปรับการใช้งานนวัตกรรมประหยัดน้ำ

***
-ดูแลปลา และแปลงผัก


ความรู้
นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการ และปริมาณน้ำที่เหมาะสมในการปลูกพืช(ปลูกผัก) สามารถออกแบบและสร้างนวัตกรรมประหยัดน้ำ  รวมทั้งนวัตกรรมดูแลและปรับคุณภาพน้ำ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน
- สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
- กล้ารับผิด รับชอบต่อการเรียนรู้และงานที่ทำ
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างมีขั้นตอน
- ใช้ความคิดใหม่ๆ  วิธีการใหม่ๆในการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อ แก้ปัญหาใหม่ๆที่ไม่เคยประสบมาก่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

week
Input
Process
Output
Outcome













5
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
- อินเทอร์เน็ต
- พื้นที่ในโรงเรียน /พื้นที่ในการทำกิจกรรม

วันพุธ
ขั้นเชื่อม
ครูนักเรียนแลกเปลี่ยนความคืบหน้าของงาน ร่วมเสนอแนะแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับชิ้นงานที่ออกแบบไว้

ขั้นใช้ (กิจกรรมต่อจากวันอังคาร)
นักเรียนออกแบบและสร้างนวัตกรรมประหยัดน้ำ โดยนักเรียนสามารถเลือกการทำงานเป็นงานกลุ่มและงานเดี่ยวได้ตามความสนใจและระหว่างการทำกิจกรรมนักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้า เกี่ยวกับการจัดการน้ำนวัตกรรมประหยัดน้ำ การดูแลแหล่งน้ำในการเลี้ยงปลา และปลูกผักเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม
วันศุกร์
ขั้นชง
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้/ มีกระบวนการเรียนรู้อย่างไร/ เจอปัญหาและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร / จะนำสิ่งที่เรียนรู้ไปปรับใช้กับการเรียนรู้อื่นหรือชีวิตประจำวันอย่างไร
ขั้นเชื่อม
- นักเรียนนำนวัตกรรมไปใช้ในแปลงผักหรือกระชังปลา พร้อมเสนอ  แลกเปลี่ยนนวัตกรรมฯ การจัดการและการดูแลน้ำ สังเกตผลการใช้งาน และปรับการใช้งานให้เหมาะสมมากขึ้น
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ขั้นใช้
นักเรียนทำนิทานประกอบภาพหรือการ์ตูนช่องสรุปเกี่ยวกับนวัตกรรมที่ทำ (กิจกรรมระยะยาวเป็นการบ้าน)

ชิ้นงาน
- นวัตกรรมประหยัดน้ำ
- นิทานประกอบภาพหรือการ์ตูนช่อง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- ประยุกต์ละนำไปใช้จากสิ่งที่เรียนรู้ และคิดริเริ่มวิธีการ/แนวทางใหม่ ๆ   ในการทำชิ้นงาน ภาระงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มอื่นได้
- เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการทำงาน การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
ทักษะ ICT
- เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
- วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการทำงานได้เหมาะสม

คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่มและงานเดี่ยว
รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
  
ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน






























1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้เป็นโจทย์เกี่ยวกับน้ำและดินที่มีผลต่อการปลูกพืช “พี่ๆป.3 จะจัดการน้ำในการปลูกพืชผักและเลี้ยงปลาอย่างไร”ซึ่งทั้งสองปัจจัยมีผลต่อการเจริญเติบโตของผักที่ปลูกไว้และน้ำในบ่อเลี้ยงปลา ซึ่งนักเรียนสังเกตเห็นปลาในกระชังตายเราจึงตั้งคำถามว่าเกิดอะไรขึ้น “น้ำน่าจะมีออกซิเจนน้อยครับครู” “ปลาน๊อกน้ำเพราะอากาศเปลี่ยนหรือเปล่าครับครู” “น้ำมีเชื้อโรคและปลาก็ติดเชื้อโรคในน้ำหรือเปล่าคะ” จากคำถามเหล่านี้เราจึงแลกเปลี่ยนกันว่าเราจำทำอย่างไรดี นักเรียนยังไม่มีคำตอบชัดเจนส่วนใหญ่ขอศึกษาข้อมูลก่อน ซึ่งมีนักเรียนคนหนึ่งบอกว่า “ทำกังหันน้ำไงครู” แต่นักเรียนอีกคนบอกว่าจะชังเล็กจะทำอย่างไร ครูจึงถามนักเรียนว่ารู้จัก EM ball ไหม นักเรียนส่วนใหญ่ไม่รู้จัก มีเพื่อนคนหนึ่งบอกว่าเป็นก้อนที่เอาไปโยนลงน้ำให้น้ำไม่เน่า หลังจากนั้นครูจึงแลกเปลี่ยนกับนักเรียนเรื่องการปลูกพืชน้ำน้อยและไม้ใช้ดิน ผ่านการเพาะถั่วงอก แต่ก่อนที่จะเริ่มกิจกรรมนักเรียนได้ศึกษาคุณสมบัติของดินด้วย ทั้งคุณสมบัติการดูดซับน้ำ ซึมน้ำเร็ว ยอมให้น้ำไหลผ่านได้ง่าย ลักษณะของดิน มีความร่วนซุยเนื้อละเอียด หรือเนื้อหยาบ สีเข้มมีสารอินทรีย์หลายชนิดปะปนอยู่ แล้วทดสอบความเป็นกรด-เบสด้วยกระดาษลิตมัส ฝึกอ่านค่าจากการเปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัส เทียบสีดินที่มีธาตุอาหารต่างๆในแผ่นชาร์ตสี ซึ่งสีของดินกับสีของชาร์ตในกระดาษมีความเข้มอ่อนต่างกัน “ครูขา ดินที่หนูนำมาเป็นสีอะไรคะ ใช่สีดำไหมคะ” ในการเพาะถั่วงอกน้ำน้อยและไม่ใช้ดินนั้นนักเรียนแต่ละคนเตรียมอุปกรณ์ด้วยตนเองตามความสนใจทั้งในแบบคิดขึ้นมาเองแล้วทดลองทำและศึกษาข้อมูลมา บางวิธีสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต บางวิธีสอบถามจากผู้ปกครองและทุกคนก็ทำตามวิธีที่ตัวเองเลือก พี่ๆหลายคนแลกเปลี่ยนว่ากระบวนการทำงานไม่ตรงตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากเตรียมอุปกรณ์ไม่ครบ หาอุปกรณ์ไม่ได้ตามแผนที่วางไว้ บางคนเลือกปลูกในฟองน้ำ บางคนเลือก กระสอบป่าน บางคนก็แช่ไว้ในน้ำเฉยๆจะได้ไม่ต้องพรมหรือฉีดน้ำ พี่ๆที่ปลูกโดยใช้กระสอบป่าน พี่สตางค์ : พ่อของหนูแนะนำค่ะ เพราะกระสอบป่านดูดซับน้ำ ..พี่ออย : แม่ของผมบอกว่า กระสอบป่านมีรูอยู่ ต้นถั่วจะได้งอกผ่านรูออกมาได้ และมีหลายคนปลูกถั่วโดยใช้ฟองน้ำ และแช่ฟองน้ำไว้ในน้ำ เพื่อที่จะไม่ต้องรดน้ำตลอดที่ถั่วเจริญเติบโต ทุกๆวิธีการช่วยสร้างการเรียนรู้ ระหว่างการทำกิจกรรมมีหลายคำถามที่พี่ๆต้องตัดสินใจและลงมือทำจนขั้นแรกของการปลูกถั่วงอกสำเร็จผล และขั้นต่อไป คือการติดตามผลการเจริญเติบโตและเก็บเกี่ยวผลผลิตและนำมาประกอบอาหารที่ทุกคนรับประทานร่วมกันได้อย่างปลอดภัยและมีคุณค่า ซึ่งการเพาะถั่วงอกครั้งต่อไปจะเป็นการพัฒนาจากวิธีการเดิมเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีปริมาณและคุณภาพที่ดีขึ้น

    ตอบลบ