เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

เข้าใจและสามารถออกแบบการเรียนรู้ของตนเอง ฝึกฝนทักษะชีวิตที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Week 2

เป้าหมายรายสัปดาห์ :
เข้าใจสามารถพูดอธิบาย ตั้งคำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจตลอดจนสามารถเลือก และออกแบบกิจกรรมจากสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้พร้อมทั้งออกแบบกิจกรรมและวางแผนการเรียนรู้ของตนเองได้


week
Input
Process
Output
Outcome















2
โจทย์ 
วางแผนการเรียนรู้
คำถาม
นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง เพราะเหตุใดจึงอยากเรียนรู้
- นักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้ในเรื่องนี้อย่างไร
เครื่องมือคิด 
- Brainstorms กิจกรรมที่อยากเรียนรู้
- Think Pair Share  สิ่งที่รู้แล้ว  สิ่งที่อยากเรียนรู้
- Blackboard Share  กิจกรรมที่อยากเรียนรู้
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
- Show and Share ปฏิทินการเรียนรู้
- Wall Thinking  ผลงาน  ปฏิทินการเรียนรู้ และสิ่งที่อยากเรียนรู้

วันจันทร์
ขั้นชง
- นักเรียนดูคลิปวีดีโอการปลูกผักในเมือง ปลูกผักในกระถาง เลี้ยงสัตว์บนดาดฟ้า
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
       - นักเรียนเห็นอะไร  สิ่งนั้นเกี่ยวข้องกับนักเรียนอย่างไร
       - สิ่งที่เห็นมีคุณค่าต่อตนเอง  หรือสิ่งอื่นอย่างไร
ขั้นเชื่อม
- นักเรียนแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ดูในคลิป เห็นปรากฏการณ์อะไร สิ่งนั้นเกี่ยวข้องกับเราอย่างไร  รู้สึกอย่างไร
วันอังคาร
ขั้นชง
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับการทำแหล่งเรียนรู้ (ปลูกผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ และการจัดสรรพื้นที่ในการทำกิจกรรม)
ขั้นเชื่อม
นักเรียนแลกเปลี่ยนและเขียนสิ่งที่รู้แล้ว  สิ่งที่อยากเรียนรู้แล้วแลกเปลี่ยนกับเพื่อนเพื่อแยกและจัดหมวดหมู่ของเนื้อหา  และนำไปใช้ในการวางแผนการเรียนรู้

ภาระงาน
- แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้ดูจากคลิปวีดีโอ
- เขียนสิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
- ออกแบบกิจกรรม และวางแผนการเรียนรู้

ชิ้นงาน
- ปฏิทินการเรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
- เข้าใจสามารถพูดอธิบาย ตั้งคำถาม แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจตลอดจนสามารถเลือก และออกแบบกิจกรรมจากสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้
- เข้าใจและสามารถวางแผนการเรียนรู้ของตนเองร่วมกันได้อย่างเป็นขั้นตอน มีเป้าหมาย และสร้างสรรค์

ทักษะ
ทักษะชีวิต
เห็นความสำคัญและความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงระหว่างสิ่งรอบตัวกับตัวเรา
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงาน
สามารถสร้างทางเลือกในการวางแผนเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ชื่อหน่วยการเรียนรู้อย่างเหมาะสม  สร้างสรรค์
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานร่วมกับผู้อื่น รับฟังความคิดเห็นในการเสนอสิ่งที่อยากเรียนรู้  ชื่อหน่วยการเรียนรู้ที่แตกต่าง หลากหลาย
week
Input
Process
Output
Outcome









2
สื่อ/อุปกรณ์ 
บรรยากาศภายในห้องเรียน
- คลิปวีดีโอปลูกผักบนดาดฟ้า  ปลูกผักไร้ดิน
https://www.youtube.com/watch?v=jKs8Q_4INOI

วันพุธ
ขั้นเชื่อม
นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่มออกแบบกิจกรรม วางแผนการเรียนรู้  และนำเสนอกิจกรรมการเรียนรู้รายสัปดาห์ โดยครูเพื่อนช่วยต่อเติมกิจกรรมเพิ่มเติมเพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
วันศุกร์
ขั้นใช้
- นักเรียนทำปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์ของห้องในรูปแบบที่สนใจ เช่น Timeline ปฏิทินรายสัปดาห์  วงกลมนาฬิกา  ก้นหอย ฯลฯ
- นักเรียนออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเองเป็น Timeline
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ทักษะการจัดการข้อมูล
มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลายจากการสำรวจ และการค้นคว้าเพื่อวางแผนการเรียนรู้
นำข้อมูลมาใช้ในการออกแบบและแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้(ปฏิทินการเรียนรู้)
ทักษะการสื่อสาร
สื่อสารผ่านการนำเสนอ การอธิบาย การแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นสิ่งที่ตนเองหรือกลุ่มให้เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลน่าสนใจ และเหมาะสม
ทักษะICT
.ใช้ICT เป็นเครื่องมือและช่องทางในการเรียนรู้  ศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่สนใจอย่างเหมาะสม
คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่มและงานเดี่ยว
รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- รู้ตัว พอประมาณ  มีเหตุมีผล  มีภูมิคุ้มกัน










ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน






























1 ความคิดเห็น:

  1. จากความอยากเรียนรู้การตั้งคำถามต่างๆเป็นที่มาของกิจกรรมการเรียนรู้ที่พี่ ป.3ได้ร่วมกันเรีนรู้ร่วมกันทำ จากโจทยผ์ของการจัดการเรียนรู้ จะทำอย่างไรให้กิจกรรมในQuarterนี้ ไม่ใช่แค่การทำเกษตร เราจะสร้างมูลค่าได้อย่างไร(ครูใหญ่)จากผลการปฏิบัติกิจกรรมเห็นความตั้งใจของพี่ๆ เห็นพฤติกรรมรอบด้านผ่านการพูดคุยจากพวกเขาเองสนุกดีครู ผมว่าสนุกกว่าทุกQuarterเลยครับ" พี่โชคกล่าว ...เหมือนว่าเวลามันผ่านไปเร็วมากเลยครู สนุกดี (พี่ภูมิ)...ครูครับผมว่าสนุกดี ผมยังไม่เคยช่วยแม่ทำแบบนี้ที่บ้านเลย แต่ตอนนี้ผมน่าจะทำได้นะครู(พี่ออมสิน)...ครูครับถ้าเหนื่อยเราก็ทำเหมือนเรื่องที่เราอ่านไงครับ...ทำไปด้วยร้องเพลงไปด้วย(พี่โซ่)...ครูหนูไม่ค่อยเหนื่อยมากแต่เหงื่อมันไหลเข้าตา ทำไมหน้าคุณครูไม่ค่อยมีเหงื่อ...แต่เสื้อข้างหลังครูเปียก (พี่โอเปิ้ล) ...ครูทำไมดินมีสีเหลือง มันมีแร่ธาตุใช่ไหมครู...ครูก้อนนี้สีแดงก็มีแร่ธาตุใช่ไหมครู...ส่วนหนึ่งของบทสนทนาระหว่างการทำงาน...หนูตื่นเต้นที่จะได้เรียนเรื่องนี้...ตอนเตรียมแปลงหนูไม่ได้ทำอะไร(ไม่ได้หาวิธีหลบร้อน) แค่อดทนกับความร้อนนั้น"(พี่อองฟรอง)"ผมคิดว่าการปลูกผักน่าจะสนุก แต่พอไปจริงมันไม่ได้สนุกอย่างเดียว แต่มันต้องแลกกับร้อนและเหนื่อย ..(พี่ปัณ)..."...มีความสุข หนูคิดว่าการเรียนเรื่องนี้ต้องมีประสบการณ์ใหม่ๆแน่.." (พี่แพรวา)...หนูเหนื่อยที่ต้องขุดแปลง เพราะจอบหนักมากค่ะ ..."(พี่อลิซท์) ...ส่วนหนึ่งการการมองและใคร่ครวญตนเองหลังการทำกิจกรรมการเรียนรู้...
    ...PBLสัปดาห์นี้นอกจากเตรียมแปลง พี่ๆยังช่วยวางแผนการเรียนรู้ด้วย...ท้ายสัปดาห์ที่2 พี่ๆช่วยกันเตรียมแปลงพรวนดิน ใส่ปุ๋ย กลบหน้าดินด้วยฟาง รดน้ำทิ้งไว้ช่วงเสาร์ อาทิตย์ สัปดาห์หน้าพี่ๆวางแผนไปลงผักที่เลือกเพราะแต่ละแปลงพี่ๆแต่ละคนเลือกพื้นที่ของตนเองแล้วว่าต้องการเท่าไร พี่ๆคาดคะเนโดยใช้ความยาวของไม้ในการวัดแบ่งพื้นที่ที่ตนเองต้องการ บางคนคาดคะเนโดยใช้สายตา ซึ่งสัปดาห์หน้า เราจะได้วัดด้วยเครื่องมือวัดอีกครั้ง "ผมขอยาวแค่นี้พอครับ ขอน้อยๆก่อนครับ"(พี่ปัณ)..หนูอยากได้แปลงยาวนิดนึงค่ะเพราะหนูอยากปลูกผัก 3 ชนิดค่ะ(พี่หยิน) ...ผมเอาเท่านี้ก็พอครับผมมีผักแค่2ชนิด (พี่ปั๊ป)

    ตอบลบ