เป้าหมายรายสัปดาห์ :
เข้าใจธรรมชาติของปลาเลี้ยง ไก่ไข่ และผักตามฤดูกาล สามารถออกแบบให้สามารถอยู่ในพื้นที่เดียวกัน
ผ่านการจัดการทรัพยากรที่จำกัดอย่างเหมาะสม
week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
3
|
โจทย์
พื้นที่
100 ตารางวา
คำถาม
นักเรียนจะออกแบบพื้นที่
100 ตารางวาให้เป็นพื้นที่ที่สามารถเลี้ยงสัตว์น้ำ
เลี้ยงไก่ไข่
และปลูกผักในพื้นที่เดียวกันอย่างไร
เครื่องมือคิด
Round Robin สิ่งที่ได้ดูจากคลิปและกิจกรรมที่อยากทำบนพื้นที่ที่จำกัด
Show & Share
แผนการเรียนรู้และการทำกิจกรรมบนพื้นที่
100 ตารางวา
Placemat
การจัดสรรพื้นที่
ชักเย่อความคิด
เป็นผู้เลือกดีกว่าผู้ผลิต
Blackboard Share สิ่งที่อยากทำบนพื้นที่ 100 ตารางวา
|
วันจันทร์
ขั้นชง
-
นักเรียนดูคลิปการทำเกษตรเชิงเดี่ยว
และเกษตรผสมผสาน
-
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไรจากการดูคลิปวีดีโอ คิดต่อสิ่งนั้นอย่างไร” “สิ่งที่ดูเกี่ยวข้องกับเราหรือสิ่งต่างๆอย่างไร”
ขั้นเชื่อม
-
นักเรียนทำชักเย่อความคิด “เป็นผู้เลือกดีกว่าผู้ผลิต”เมื่อเขียนเสร็จนักเรียนนำไปติดและเวียนอ่านความคิดเห็นของเพื่อน
ขั้นใช้
ครูให้โจทย์
“กระดาษเอสี่แทนพื้นที่ 100 ตารางวา
นักเรียนอยากทำอะไรบนพื้นที่นั้นบ้าง
แต่ละส่วนใช้พื้นที่เท่าไร นักเรียนออกแบบและแลกเปลี่ยนกับเพื่อน
วันอังคาร
ขั้นชง
-
ครูและนักเรียนสำรวจและออกวัดพื้นที่ที่ใช้ทำกิจกรรม(พื้นที่เกษตรผสมผสาน)
-
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะออกแบบพื้นที่ 100 ตารางวาให้เป็นพื้นที่ที่สามารถเลี้ยงสัตว์น้ำ
เลี้ยงไก่ไข่
และปลูกผักในพื้นที่เดียวกันอย่างไร”
-
นักเรียน ศึกษาค้นคว้า ออกแบบและวางแผนการใช้พื้นที่ 100 ตารางวาในการทำกิจกรรม (โจทย์ที่กำหนด)
โดยแต่ละคนสามารถเลือกได้ว่าอยากทำอะไร ทำคนเดียวหรือร่วมกับเพื่อน ทำอย่างไร
เพราะเหตุใดจึงเลือกทำเช่นนั้น
|
ภาระงาน
-
สำรวจพื้นที่ ศึกษาค้นคว้าและออกแบบการใช้ในการทำกิจกรรม
-
นำเสนอแลกเปลี่ยนผลงาน เพิ่มเติม ปรับใช้ให้เหมาะสม
-
สร้างงานพื้นที่แหล่งเรียนรู้เกษตร
-
เขียนบันทึกการเรียนรู้ประจำวัน
ชิ้นงาน
-บ่อปลา เล้าไก่ไข่
แปลงผัก/แปลงผักไร้ดิน /ผักในกระถาง
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
เข้าใจธรรมชาติของปลาเลี้ยง
ไก่ไข่ และผักตามฤดูกาล สามารถออกแบบให้สามารถอยู่ในพื้นที่เดียวกัน
ผ่านการจัดการทรัพยากรที่จำกัดอย่างเหมาะสม
ทักษะ
ทักษะชีวิต
-
มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
-
ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน
-
สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
-
กล้ารับผิด รับชอบต่อการเรียนรู้และงานที่ทำ
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างมีขั้นตอน
- ใช้ความคิดใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆในการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อ
แก้ปัญหาใหม่ๆที่ไม่เคยประสบมาก่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-
ประยุกต์ละนำไปใช้จากสิ่งที่เรียนรู้ และคิดริเริ่มวิธีการ/แนวทางใหม่ ๆ ในการทำชิ้นงาน
ภาระงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
3
|
สื่อ/อุปกรณ์
-
พื้นที่ทำกิจกรรม 100 ตารางวา
-
คลิปวีดีโอเกษตรเชิงเดี่ยว
- อินเทอร์เน็ต |
ขั้นเชื่อม
นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอแลกเปลี่ยนแบบและแผนการทำกิจกรรม
(ทำอะไร ทำคนเดียวหรือร่วมกับเพื่อน
ทำอย่างไร
เพราะเหตุใดจึงเลือกทำเช่นนั้น
วางแผนไว้อย่างไร)
ขั้นใช้
นักเรียนแต่ละคนทำ
Timeline กิจกรรมและแผนการทำงานของตนเอง
วันพุธ
ขั้นใช้
-
นักเรียนลงมือทำงาน สร้างพื้นที่ 100
ตารางวาให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้
ที่สามารถเลี้ยงสัตว์น้ำ เลี้ยงไก่ไข่
และปลูกผักในพื้นที่เดียวกัน ***โดยนักเรียนแต่ละคนเป็นผู้เลือกและออกแบบการทำกิจกรรมและการเรียนรู้ด้วยตนเอง
(ผู้ปกครองร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้)
-
นักเรียนเขียนสรุปบันทึกการเรียนรู้ประจำวัน
(สิ่งที่ทำ
เหตุผลที่ทำเช่นนั้น สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำ ความรู้สึกความคิดขณะที่ทำสิ่งนั้น)
วันศุกร์
ขั้นใช้
(ต่อจากวันพุธ)
-
นักเรียนลงมือทำงาน สร้างพื้นที่ 100
ตารางวาให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้
ที่สามารถเลี้ยงสัตว์น้ำ เลี้ยงไก่ไข่
และปลูกผักในพื้นที่เดียวกัน ***โดยนักเรียนแต่ละคนเป็นผู้เลือกและออกแบบการทำกิจกรรมและการเรียนรู้ด้วยตนเอง
(ผู้ปกครองร่วมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้)
-
นักเรียนเขียนสรุปบันทึกการเรียนรู้ประจำวัน
(สิ่งที่ทำ
เหตุผลที่ทำเช่นนั้น สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำ ความรู้สึกความคิดขณะที่ทำสิ่งนั้น)
-
นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
-
มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
และเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มอื่นได้
- เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น
แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการทำงาน
การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
ทักษะ
ICT
- เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
- วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการทำงานได้เหมาะสม
คุณลักษณะ
- เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
-
รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่มและงานเดี่ยว
- รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- พอประมาณ มีเหตุผล
ภูมิคุ้มกัน
|
พี่ๆป.3 เริ่มลงเมล็ดผักในแปลงผักของตนเอง ซึ่งมีทั้งผักที่ต้องเพาะกล้าและผักที่ลงแปลงได้โดยไม่ต้องขยายอีก นักเรียนมีความกระตือรือร้นและมีความมุ่งมั่นพยายามในการทำกิจกรรมแม้อากาศจะร้อนแต่ก็เห็นนักเรียนสนุกสนานและทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างยอดเยี่ยม ทั้งแบ่งเมล็ดพันธุ์กันและกัน แลกเปลี่ยนเพื่อให้สามารถปลูกได้หลากหลายชนิดมากขึ้น เป็นบรรยากาศการเรียนรู้ที่นักเรียนหลายคนยังไม่เคยทำ “ครูครับเป็นครั้งแรกที่ผมปลูกผักด้วยตัวเอง ผมเพิ่งรู้ว่าต้องปลูกผักบุ้งแบบนี้ครับ” “ครูครับตรงนี้ชุ่ม หรือยัง ผมปลูกได้หรือยังครับ” “ครูคะ เมล็ดผักบุ้งปลูกยังไงคะ” บางคนปลูกไปแล้วก็ลืมว่าตัวเองปลูกตรงไหน บางแปลงก็ปลูกถั่วฝักยาวกับผักบุ้ง ครูให้นักเรียนเป็นผู้เลือกและตัดสินใจว่าอยากปลูกอะไรในแปลงของตนเอง นักเรียนแต่ละคนสามารถบอกและอธิบายได้ว่าทำไมจึงอยากปลูกพืชชนิดนั้น เช่น “ผมชอบกินถั่วลันเตา ผมเลยเลือกปลูกถั่วครับ” “หนูชอบกินผักบุ้งค่ะเลยปลูกผักบุ้ง ผักบุ้งน่าจะโตเร็วนะครู” “ที่บ้านผมปลูกผักกาดครับผมเลยอยากเอามาปลูกของผมด้วย” วันพุธพี่ๆป.3ปล่อยพันธุ์ปลานิลทั้งหมด 200 ตัว และเตรียมพร้อมสำหรับการดูแลปลาให้เติบโตด้วยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพราะมีพี่ๆหลายคนในชั้นเรียนที่เคยมีประสบการณ์ในการเลี้ยงปลานิลกับผู้ปกครองที่บ้าน “ครูครับ เราจะดูแลให้โต เราจะทำอาหารให้ปลาเองใช่ไหมครับ” “ครูครับที่บ้านผมมีรำผมจะเอารำที่บ้านผมมาด้วยครับ” “ครูครับเราเอาผักมาให้ปลานิลกินได้ไหมครับ” ระหว่างสัปดาห์เห็นพี่ๆใส่ใจต่อการดูแลแปลผักของตนเองเช่นบางคนมาโรงเรียนเช้าขึ้นเพื่อที่จะได้มีเวลาไปรดน้ำผักในช่วงเช้า ท้ายสัปดาห์มีผู้ปกครองอาสามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการดูเลี้ยงและการดูแลปลานิล ซึ่งพี่ๆให้ความสนใจ มีคำถาม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ปกครองทั้งเรื่องการจัดการน้ำ การดูแลเรื่องโรค การให้อาหาร ฯลฯ ซึ่งเป็นคำถามที่พี่ๆจะสามารถนำไปใช้ในการเลี้ยงปลาของตนเองและมีความหลากหลาย เช่น“คุณพ่อคะ ปลานิลอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิเท่าไหร่ได้บ้างคะ” “การผสมพันธุ์ปลานิลทำอย่างไรคะ” “ทำไมปลานิลไม่หลับตา” “ปลานิลนอนอย่างไร” “จะมีวิธีสังเกตโรคติดต่อในปลาอย่างไร” “ปลานิลแยกเพศยังไงคะ” เป็นต้น
ตอบลบ