เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

เข้าใจและสามารถออกแบบการเรียนรู้ของตนเอง ฝึกฝนทักษะชีวิตที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Week 4


เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจธรรมชาติของปลาเลี้ยง  และผักตามฤดูกาล สามารถออกแบบและจัดการได้อย่างเป็นระบบ รวมทั้งสามารถผลิตปุ๋ยชีวภาพจากวัสดุในท้องถิ่นเพื่อใช้ในการบำรุงดินและการเจริญเติบไตของผัก ผ่านการจัดการทรัพยากรที่จำกัดอย่างเหมาะสม


week
Input
Process
Output
Outcome











4
โจทย์
พื้นที่ 100 ตารางวา
(ต่อจากสัปดาห์ที่ 3)
คำถาม
บนพื้นที่ที่จำกัด นักเรียนจะออกแบบและจัดการพื้นที่ในการปลูกผักให้เหมาะสมและมีกระบวนการจัดการที่เป็นระบบอย่างไร

เครื่องมือคิด
Round Robin สิ่งที่ได้ดูจากคลิปและกิจกรรมที่อยากปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง
Show & Share  สูตรปุ๋ยหมักชีวภาพ
Placemat สิ่งที่ได้เรียนรู้  สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการเรียนรู้และการทำงานของตนเอง
Blackboard Share  อุปกรณ์ วัตถุดิบการทำปุ๋ยหมัก

วันจันทร์
ขั้นชง
- นักเรียนดูคลิปรายการเกษตรคนเมือง “ความสุขปลูกได้”
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนเห็นอะไรจากการดูคลิปวีดีโอ  คิดต่อสิ่งนั้นอย่างไร” “สิ่งที่ดูเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรากำลังเรียนรู้อย่างไร”  “นักเรียนจะนำสิ่งที่ได้ดูจากคลิปวีดีโอมาปรับใช้กับตนเองอย่างไร”

ขั้นเชื่อม
- นักเรียนนักเรียนแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูจากคลิปวีดีโอ ผ่านเครื่องมือ Place mat (สิ่งที่ได้เรียนรู้  สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการเรียนรู้และการทำงานของตนเอง)
วันอังคาร
ขั้นชง
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะมีวิธีการบำรุงดินให้มีสารอาหารและแร่ธาตุในดินที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชอย่างไร”
- นักเรียนศึกษาค้นคว้าการทำปุ๋ยชีวภาพ “ทั้งสูตรปุ๋ยน้ำหมัก และสูตรปุ๋ยแห้ง”ครูและนักเรียนสำรวจวัตถุดิบที่จะใช้ในการทำปุ๋ยหมักในโรงเรียน

ขั้นเชื่อม
นักเรียนแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสูตรและกระบวนการการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ  โดยเลือกวัตถุดิบที่หาง่ายและมีในชุมชนหรือโรงเรียน รวมทั้งแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่จะใช้ในการทำงานและการเรียนรู้
*** เตรียมอุปกรณ์และวัตถุดิบ
ภาระงาน
 ศึกษาค้นคว้าการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
-สำรวจแหล่งวัตถุดิบในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เตรียมอุปกรณ์  วางแผนการทำงาน

ชิ้นงาน
-ปุ๋ยหมักชีวภาพ
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ (ภาพประกอบชุดความรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ)
ความรู้
เข้าใจธรรมชาติของปลาเลี้ยง  และผักตามฤดูกาล สามารถออกแบบและจัดการได้อย่างเป็นระบบ รวมทั้งสามารถผลิตปุ๋ยชีวภาพจากวัสดุในท้องถิ่นเพื่อใช้ในการบำรุงดินและการเจริญเติบไตของผัก ผ่านการจัดการทรัพยากรที่จำกัดอย่างเหมาะสม
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน
- สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
- กล้ารับผิด รับชอบต่อการเรียนรู้และงานที่ทำ
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างมีขั้นตอน
- ใช้ความคิดใหม่ๆ  วิธีการใหม่ๆในการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อ แก้ปัญหาใหม่ๆที่ไม่เคยประสบมาก่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
week
Input
Process
Output
Outcome





















สื่อ/อุปกรณ์
- คลิปวีดีโอเกษตรเชิงเดี่ยว

https://www.youtube.com/watch?v=ZQKRuQBN54k   (พึ่งพาตนเอง  สานรัก)

- อินเทอร์เน็ต

วันพุธ
ขั้นใช้
- นักเรียนลงมือปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยแต่ละคนเลือกทำแต่ละสูตรตามความสนใจ
***
- นักเรียนเขียนสรุปบันทึกการเรียนรู้ประจำวัน
 (สิ่งที่ทำ(ความสำเร็จ ปัญหาที่พบ)  เหตุผลที่ทำเช่นนั้น  สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน   ความรู้สึก  ความคิดขณะที่ทำสิ่งนั้น)
วันศุกร์

ขั้นเชื่อม
- นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ผ่านหัวข้อ “ทำไมจึงเลือกทำสูตรนั้น (สารอาหารที่จำเป็น  คุณค่า  ผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อทำสำเร็จ)
- นักเรียนเขียนสรุปบันทึกการเรียนรู้ประจำวัน
 (สิ่งที่ทำ ความสำเร็จ ปัญหาที่พบ   เหตุผลที่ทำเช่นนั้น  สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำ   ความรู้สึกความคิดขณะที่ทำสิ่งนั้น)

ขั้นใช้
- นักเรียนสรุปองค์ความรู้รายสัปดาห์ผ่านการออกแบบภาพประกอบ (ชุดความรู้) เพื่อสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยหมักชีวภาพที่นักเรียนทำ

- ประยุกต์ละนำไปใช้จากสิ่งที่เรียนรู้ และคิดริเริ่มวิธีการ/แนวทางใหม่ ๆ   ในการทำชิ้นงาน ภาระงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มอื่นได้
- เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการทำงาน การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
ทักษะ ICT
- เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
- วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการทำงานได้เหมาะสม
คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่มและงานเดี่ยว
รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ
- พอประมาณ  มีเหตุผล  ภูมิคุ้มกัน


ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน















1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ ป.3 ยังคงทำกิจกรรมต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนคือการดูแลรดน้ำผัก ถอนหญ้าในแปลงผักที่ปลูกไว้ ซึ่งผักแต่ละแปลงของพี่ๆเริ่มงอกแล้ว พี่ๆดีใจและภูมิใจที่เห็นผักที่ปลูกไว้งอกและเจริญเจริญเติบโต ...เช่น “ครูผักบุ้งหนูเกิดแล้ว หญ้าก็เกิดแล้ว”...”ถั่วฝักยาวตัวเองเกิดยัง”...”เกิดแล้ว”...”ของเค้าก็เกิดแล้ว”...”ครูต้นนี้ผักกาดแล้วอีกต้นหนึ่งอะไรน่ะครู”...”ครูทำไมตรงนี้(ผักที่เพาะนอกแปลง) เกิดดีกว่าล่ะครู”...”ครูครับอันนี้หญ้าหรือผักน่ะครู”... บรรยากาศของความตื่นเต้น ดีใจ นอกจากนี้พี่ๆ ต้องสังเกตการเจริญเติบโตด้วยการวัดความสูงของต้นพืชที่เกิดขึ้นมา บางต้นสูง 3 ซม. บางต้นสูง 8 ซม.”ครูขาผ่านมา 3 วันสูงขึ้น 3 เซนติเมตร ...สูงขึ้นวันละ 1 เซนติเมตรเลยครู”...ถึงแม้ว่าในช่วงบ่ายแดดจะร้อนแต่พี่ๆทุกคนก็ตั้งใจดูแลแปลงผักของตนเอง ทั้งวัดความยาวของต้นผักเพราะอยากรู้ความสูงที่เลี่ยนแปลงไปและบางคนเริ่มใส่ปุ๋ยเพิ่มสารอาหารให้ผักบ้างแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับโจทย์ในสัปดาห์นี้คือ “การปรับปรุงบำรุงดิน เพิ่มสารอาหารให้ดิน เพิ่มธาตุอาหารที่พืชต้องการ ในครั้งแรก 1 สูตร ทำร่วมกันทั้งครูและนักเรียนเพื่อเรียนรู้กระบวนการโดยครูเป็นผู้พานักเรียนทำแลเรียนรู้ร่วมกัน สูตรนี้ใช้เวลาหมัก 3 เดือนซึ่งพี่ๆบอกว่าคงไม่ทันใส่ให้ผักของตนเอง ดังนั้นครูจึงให้โจทย์ใหม่ คือ ปุ๋ยชีวภาพที่นำมาใช้ได้ในระยะเวลาสั้นๆ”
    ดังนั้นนักเรียน(ทำงานเป็นกลุ่มผ่านการจับฉลากแบ่งกลุ่ม) จึงต้องสืบค้นข้อมูลเพื่อหาสูตรปุ๋ยหมักของตนเอง เพื่อที่จะสามารถนำมาใช้เร็วทันเวลาที่ผักเจริญเติบโต พี่ๆต้องวิเคราะห์ตั้งแต่การเลือกคำในการสืบค้นหาข้อมูล บางครั้งใช้คำไม่ถูกก็ไม่ได้ข้อมูลที่ต้องการ
    หลังจากได้ข้อมูลแล้วนักเรียนนำข้อมูลนั้นมาแลกเปลี่ยนกัน โดยครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย “ครูครับ น้ำสกัดชีวภาพคืออะไรครับ” “ครูขา สูตรนี้ใช้เวลาหมัก 30 ชั่วโมง (30 ซม.)เองค่ะ ครูตัวย่อ “พด” คืออะไรครับครู พี่ๆแต่ละกลุ่มตั้งใจและพยายามค้นหาสูตรปุ๋ยหมักที่ใช้เวลาหมักน้อยที่สุด “ครูขา สูตรนี้ 1 สัปดาห์”...สูตรนี้ 5 วันค่ะ …สูตรนี้ 1สัปดาห์ค่ะ ...หลังจากได้สูตรในการทำปุ๋ยหมักแล้ว แต่ละกลุ่มวางแผนและเตรียมวัตถุดิบในการทำปุ๋ย ขณะที่นักเรียนแต่ละกลุ่มทำงานบางสูตรที่มีวัตถุดิบไม่ครบจะเห็นนักเรียนช่วยกันแก้ปัญหาช่วยกันและค้นพบวิธีใหม่ สามารถทำงานร่วมกันได้ รับฟังความคิดเห็นของกันและกัน เอื้อเฟื้อและแบ่งปัน มีการจัดการและการวางแผนร่วมกัน มีความสุขและสนุกกับการได้ลงมือทำ เช่นเราไม่ต้องกองไว้ครับครูเพราะไม่มีที่เอาใส่ถุงปุ๋ยเลยครับ กลุ่มหนูใส่ถังปิดฝาไว้เลยค่ะ ครูครับผมแบ่งน้ำหมัก EM .ให้เพื่อนๆหมดเลยนะครู ครูครับผมเสร็จแล้วผมไปช่วยเพื่อนกลุ่มอื่นนะครู ..."ครูบางสูตรง่ายๆเองครับแต่เราไม่มีแกลบดำ ผมเลยเลือกสูตรใหม่"..."ครูกลุ่มหนูไม่ได้ใช้ตามสูตรค่ะ...ดัดแปลงเอา"...ครูสูตรที่พวกผมหาได้แค่3-4วันเองครู" "ครูอันนี้อบไว้12ชั่วโมงก็ใช้ได้แล้วครู" "ครูเค้าบอกว่าต้องให้เกิดเชื้อราขาวๆ...เหมือนเชื้อราเห็ดไหมครู แค่3วันเองครู"....หลังจากการลงมือทำกิจกรรมด้วยตนเอง พี่ๆก็ร่วมกันแลกเปลี่ยน สรุปบทเรียนรายสัปดาห์ และเขียนบันทึกการเรียนรู้ของตนเอง

    ตอบลบ