เป้าหมายหลัก (Understanding Goal)

เข้าใจและสามารถออกแบบการเรียนรู้ของตนเอง ฝึกฝนทักษะชีวิตที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

Week 9


เป้าหมายรายสัปดาห์ : นักเรียนเข้าใจอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์  อาหารที่ปลอดภัยมาจากการจัดการและกระบวนการในการผลิตที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ  สามารถพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำไปปรับใช้กับตนเองได้อย่างเหมาะสม


week
Input
Process
Output
Outcome











9
โจทย์
ปรับใช้ในชีวิต

คำถาม
นักเรียนจะนำสิ่งที่เรียนรู้และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปต่อยอดนวัตกรรมและปรับใช้กับตนเองอย่างไร

เครื่องมือคิด
- Round Robin สิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้
- Show & Share ประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้ และการนำไปปรับใช้กับตนเอง
- Blackboard Share นวัตกรรมจากการเรียนรู้
- Wall Thinking ผลงานและชาร์ตความรู้


วันจันทร์
ขั้นชง
- นักเรียนดูคลิปวีดีโอ และอ่านบทความ “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างตลอด Quarter ที่ผ่านมา”
ขั้นเชื่อม
นักเรียนวิเคราะห์เชื่อมโยงกับกระบวนการเรียนรู้ของตนเองว่าสอดคล้องกับหลักปรัชญาฯ อย่างไรแล้วแลกเปลี่ยนกับเพื่อน  ผ่านคำถาม “การเรียนรู้ของนักเรียนสอดคล้องกับ ความพอประมาณ  มีเหตุผล  มีภูมิคุ้มกัน และ ความรู้  หรือคุณธรรมอย่างไร”

วันอังคาร
ขั้นชง
ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด และแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับนวัตกรรม  และผลผลิตที่ได้จากการทำกิจกรรม
คำถามกระตุ้นคิด
     -นักเรียนได้เรียนรู้อะไร สิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวข้องกับนักเรียนหรือสิ่งใดบ้าง
     - นักเรียนจะพัฒนาต่อยอดนวัตกรรม  หรือผลผลิตที่ได้อย่างไร
- นักเรียนแบ่งกลุ่มระดมความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรม  และผลผลิตที่ได้  เช่น ปุ๋ยหมักชีวภาพ  ดินสำเร็จรูปบรรจุถุง  เป็นต้น
ภาระงาน
- ระดมความคิด  แลกเปลี่ยนเพื่อพัฒนาต่อยอดนวัตกรรม
- พัฒนานวัตกรรมและขยายผลผลิตเพื่อการนำไปปรับใช้กับตนเอง
-แลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการนำไปปรับใช้กับตนเอง
***
-ดูแลปลา ไก่ไข่และแปลงผัก

ชิ้นงาน
- ผลิตภัณฑ์ (ปุ๋ย  ดินสำเร็จรูป  ผักกระถาง  ผักไร้ดิน)
- ละครบทบาทสมมุติ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
นักเรียนเข้าใจอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์  อาหารที่ปลอดภัยมาจากการจัดการและกระบวนการในการผลิตที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ  สามารถพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนำไปปรับใช้กับตนเองได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน
- สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
- กล้ารับผิด รับชอบต่อการเรียนรู้และงานที่ทำ
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
- คิดวางแผนการทำงานอย่างเป็น



week
Input
Process
Output
Outcome










9
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
- อินเทอร์เน็ต
- พื้นที่ในโรงเรียน /พื้นที่ในการทำกิจกรรม
- ห้องสมุด
ขั้นเชื่อม
- นักเรียนวิเคราะห์  แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับนวัตกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะสามารถเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น หรือสิ่งอื่น หรือสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองได้

วันพุธ
ขั้นเชื่อม
นักเรียนนำเสนอสิ่งที่จะพัฒนาต่อยอดและการนำหลักปรัชญาฯไปปรับใช้กับตนเอง  ครูและเพื่อนร่วมแลกเปลี่ยน

วันศุกร์
ขั้นชง
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้ เกิดความคิดหรือความรู้สึกอะไรบ้าง  สิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวข้องกับนักเรียนอย่างไร”
ขั้นเชื่อม
นักเรียนสรุปดารเรียนรู้รายสัปดาห์ แล้วแลกเปลี่ยนกับครูและเพื่อนในห้องเรียน  พร้อมทั้งเขียนบันทึกความรู้สึก หรือความคิดที่เกิดขึ้นในสมุดบันทึกการเรียนรู้
ขั้นใช้
นักเรียนแสดงละครจำลองเหตุการณ์ การเรียนรู้ของตนเองตลอด Quarter ที่ผ่านมา

ระบบ คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างมีขั้นตอน
- ใช้ความคิดใหม่ๆ  วิธีการใหม่ๆในการออกแบบสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อ แก้ปัญหาใหม่ๆที่ไม่เคยประสบมาก่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ประยุกต์ละนำไปใช้จากสิ่งที่เรียนรู้ และคิดริเริ่มวิธีการ/แนวทางใหม่ ๆ   ในการทำชิ้นงาน ภาระงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มอื่นได้
- เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการทำงาน การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
ทักษะ ICT
- เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
- วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการทำงานได้เหมาะสม
คุณลักษณะ
เคารพ สิทธิหน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
เชื่อมโยงจากสิ่งที่ได้พบเห็นสู่การเรียนรู้ผ่านการสร้างสรรค์ชิ้นงานที่หลากหลาย
- สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเองต่อการทำงานกลุ่มและงานเดี่ยว
รับผิดชอบต่อตนเองและสิ่งอื่นๆ



ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน





















1 ความคิดเห็น:

  1. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์นี้เป็นกิจกรรมที่นักเรียนได้สรุปเรียนรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงว่าแต่คนได้เรียนรู้และนำหลักปรัชญาอะไรบ้างมาใช้ในกระบวนการเรียนรู้"ปลูกงานสร้างชีวิต"ซึ่งนักเรียนแต่ละคนจะมีวิธีการและการทำงานหรือหลักการนำไปปรับใช้แตกต่างกันเช่นผมใช้เหตุผลในการเลือกแปลงผักว่าขนาดที่ผมเลือกผมเลือกไม่ใหญ่มากเพราะถ้าใหญ่เกินไปผมคิดว่าผมจะรดน้ำไม่ไหวและผมเลือกปลูกผักที่ผมชอบกินมาปลูกตอนปลูกผักผมไม่ขึ้นผมเลยเอาเมล็ดใหม่มาปลูกอีกครับ""หนูเลือกแปลงผักและเตรียมแปลงใส่ปุ๋ยใส่เศษฟางเพราะในดินไม่มีสารอาหารเราต้องเตรียมแปลงก่อนหนูเลือกแปลงไม่ใหญ่มากเพราะหนูคิดว่าถ้าหนูปลูกต้องรดน้ำทุกวันถ้าแปลงใหญ่ต้องใช้บัวใหญ่จะได้รดเสร็จเร็วๆแต่หนูยกบัวใหญ่ไม่ไหวต้องใช้บัวเล็กหลายรอบหนูจะยกไม่ไหวเลยเลือกแปลงเล็กและใช้บัวเล็กๆค่ะ""ผักหนูปลูกไม่ขึ้นค่ะต้องปลูกหลายรอบเพราะแมลงกัดกินหมดเลยค่ะตอนนี้หนูปลูกเพิ่มแล้วค่ะ""ผักผมปลูกแล้วตอนใส่ปุ๋ยมันตายเพราะใส่เยอะแต่ผมก็เอาผักมาปลูกใหม่ครับ"...จากสิ่งที่นักเรียนสะท้อนตัวเองนั้นจะเห็นว่านักเรียนมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติผ่านหลักปรัชญาฯทุกด้านเมื่อแลกเปลี่ยนและวิเคราะห์ตนเองว่าเรียนรู้แต่ละเรื่องอย่างไรซึ่งนักเรียนก็สามารถวิเคราะห์การเรียนรู้ของตนเองได้ และในสัปดาห์นี้ ...เกิดอีกหนึ่งประสบการณ์การเรียนรู้PBLของพี่ ป.3...แหล่งโปรตีนจากเนื้อสัตว์"ปลานิล" ที่พี่ๆลงกระชังไว้200ตัว ตายไปประมาณ27-28ตัว ล่าสุดเราสังเกตว่าปลาไม่ตายเพิ่ม และไม่ขึ้นมากินอาหาร...พยายามยกดู แต่ยกได้ไม่ทั้งหมด...วันนี้เลยชวนคุณพ่อ(ผู้ปกครอง)มาช่วยยกผ้ากระชังขึ้นดู ปรากฏว่ากระชังรั่ว หลายจุดทั้งจุดเล็กและใหญ่ (ปลาเล็กออกได้) "ครูปลาเราไปอยู่ในบ่อหมดเลยใช่ไหมครู""น่าเสียดายจังครู...เลี้ยงใหม่ได้ไหมครู" "ครูครับเอาแหมาหว่านได้ไหมครู" "ครูเอาเบ็ดมาตกเอาได้ไหมครับ..."น่าเสียดายนะครู" ..."แต่มันก็อยู่ในบ่อใช่ไหมครู"...

    ตอบลบ